5 วิธีตรวจงานหลังคา ไม่ต้องขึ้นที่สูง

post-image

ขั้นตอนการเตรียมงาน

1. ตรวจวัสดุมุงหลังคา

     ก่อนการเลือกวัสดุมุงหลังคา ควรตรวจสอบกับทางผู้ผลิตหรือจากคู่มือว่า วัสดุมุงหลังคาดังกล่าวมีขนาด ระยะแปหรือระแนง และ องศาความลาดชันของหลังคาที่สามารถติดตั้งได้เท่าใด แล้วตรวจสอบกับแบบก่อสร้างว่าแบบเขียนถูกต้องกับสเปคของวัสดุมุงหลังคาหรือไม่ บางท่านอาจจะอยากได้หลังคาแบนๆ แต่วัสดุมุงหลังคาบางประเภทมีความเอียงขั้นต่ำอยู่ซึ่งอาจจะทำให้มุงไม่ได้

     เมื่อได้วัสดุมุงหลังคามาแล้ว ควรตรวจสอบว่าแต่ละแผ่นมีรอยแตกร้าวหรือหักตามมุมมาจากโรงงานหรือจากร้านค้าหรือไม่ ถ้ามีจำนวนมากต้องสั่งเปลี่ยน หรือคัดทิ้งเพื่อใช้เฉพาะแผ่นที่คุณภาพสมบูรณ์ เพราะรอยแตกเล็กๆ จะเป็นจุดที่น้ำจะซึมเข้าได้

2. ตรวจสอบการเตรียมโครงหลังคา

     ขั้นตอนนี้ท่านเจ้าของบ้านอาจจะไม่ถึงขั้นต้องปีนขึ้นไปดูบนหลังคา แต่ให้ตรวจสอบด้วยการประมาณด้วยสายตาในเรื่องการโครงหลังคาก่อนจะปู ว่ามีการวางจันทัน แป โดยที่เว้นระยะห่างกันอย่างเรียบร้อยและมีการเอียงองศาที่ถูกต้องตามแบบหรือไม่ ซึ่งอาจจะขอให้ช่างลองทาบวัดองศาดูก็ได้ และโครงหลังคาต้องมีระยะยื่นชายคาห่างจากผนังอาคารตามแบบ ทั้งนี้ควรมีระยะยื่นเพียงพอในการป้องกันฝนสาด

ขั้นตอนการติดตั้ง

3. ตรวจสอบระหว่างการปูหลังคา

     การเตรียมเอาวัสดุมุงหลังคาขึ้นไปวางบนหลังคาก่อนปู ต้องกระจายน้ำหนักของวัสดุเพื่อไม่ให้โครงหลังคารับน้ำหนักมากเกินไป และเสี่ยงต่อการร่วงหล่นเนื่องจากมีการซ้อนชั้นกันมากเกินไป ระหว่างการปูช่างต้องเดินบนโครงสร้างเหล็กในบริเวณที่สามารถรองรับน้ำหนักได้ (บริเวณใกล้กับเสาและคาน) ยกเว้นแต่จะจำเป็นต้องเดินเหยียบกระเบื้อง เพื่อป้องกันกระเบื้องที่อาจเสียหายได้ และในขณะที่ปูให้ตรวจดูว่าช่างวางวัสดุมุงหลังคาแบบวางสลับกัน โดยที่รอยต่อที่วัสดุมุงด้านข้างต้องสลับกันในแต่ละชั้นเพื่อไม่ให้หลังคารั่วจากรอยต่อที่วางผิด

     ส่วนการวางปูนทรายเพื่อวางครอบสันหลังคา ใช้การมองดูว่ามีการเก็บงานและวางครอบหลังคาได้ระดับเท่ากัน หลังจากนั้นต้องมีเก็บรายละเอียดปูนส่วนเกินออกและมีการทำความสะอาด ถ้าต้องการให้หลังคาดูสวย ควรมีการทาสียาแนวด้วย

4. ตรวจความเรียบร้อยหลังปูหลังเสร็จ

     สำหรับการตรวจจากด้านใต้หลังคา ให้ดูว่าต้องไม่มีแสงลอดเข้ามาใต้หลังคา ส่วนภายนอกให้ดูความเรียบร้อยโดยรวมในการปูวัสดุปูหลังคา เช่น แนววัสดุมุงหลังคาทั้งด้านแนวเชิงชายและด้านขนานปั้นลมได้แนวถูกต้องและซ้อนทับกันสนิท รวมไปถึงองค์ประกอบหลังคาในส่วนอื่นๆ ได้แก่ ปั้นลม เชิงชาย ครอบหลังคา ส่วนในร่องน้ำตะเฆ่รางให้ตรวจดูว่าไม่มีเศษวัสดุและเศษปูนเหลืออยู่ อาจกำชับให้ช่างทำความสะอาดก่อน แล้วจึงค่อยตรวจด้วยการมองดูอีกที

ขั้นตอนหลังการติดตั้ง

5. ตรวจสอบการรั่วซึม

     สุดท้ายเป็นการตรวจสอบการรั่วซึม อาจจะลองใช้สายยางฉีดน้ำ หรือ รอดูตอนฝนตก เพื่อดูว่าจะเกิดรอยรั่ว หรือจุดที่เสี่ยงต่อน้ำเข้าได้ ซึ่งหากเป็นบ้านที่มีเฟอร์นิเจอร์ราคาแพงหรือตกแต่งด้วยไม้ภายในบ้าน ควรจ้างรถน้ำให้มาฉีดทดสอบก่อนที่จะถึงขั้นตอนตกแต่งภายใน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

ที่มา/เครดิต : https://www.baania.com/

โปรโมชั่น & ข่าวสาร อื่นๆ
post-image
เคล็ดลับ บ้านเย็นสบาย ประหยัดพลังงาน
post-image
7 ข้อดี เมื่อคุณเลือกใช้โครงหลังคาสมาร์ทแฮท
post-image
การเลือกหลังคาให้เหมาะกับบ้านของคุณ
post-image
อะเส - อาเส คานหลังคา
post-image
8 สาเหตุหลังคารั่วซึม รู้ไว้ป้องกันได้ก่อน
post-image
"Solar Roof" กับ เทรนด์รักษ์โลก
post-image
5 เรื่องที่ต้องรู้ ก่อนทำหลังคาบ้าน
post-image
ทำไมต้องใช้เหล็ก มอก.
post-image
การทำความสะอาดหลังคาบ้าน
post-image
ความสำคัญของหลังคาบ้าน ที่คุณไม่ควรมองข้าม
post-image
บริการงานผลิตและติดตั้ง โครงหลังคาสำเร็จรูป สมาร์ทแฮท
post-image
หลังคาบ้าน & 5 เรื่องที่ต้องรู้
post-image
เคล็ดไม่ลับ หลังคาสวยด้วยสมาร์ทแฮท
post-image
องศาหลังคา รู้ไว้ป้องกันดีกว่าแก้
post-image
อะเสคานหลังคา ทำจากอะไร?
post-image
สีหลังคา อีก 1 อัตลักษณ์ บ่งบอกถึงความเป็นตัวคุณ
post-image
6 ทรงหลังคาบ้านยอดฮิตไม่ตกเทรนด์
post-image
โครงหลังคา vs โครงหลังคาสำเร็จรูป
post-image
5 เคล็ดลับ บ้านเย็นสไตล์ไทย
post-image
5 วิธีตรวจงานหลังคา ไม่ต้องขึ้นที่สูง
post-image
วิธีคำนวนพื้นที่หลังคาเบื้องต้น By...สมาร์ทแฮท
post-image
6 องค์ประกอบโครงหลังคารู้ไว้ใช่ว่า...คุยกับช่างรู้เรื่อง
post-image
3 วิธีง่ายๆ ป้องกันหลังคารั่วซึม